สวัสดิการ

การให้การสงเคราะห์
การติดต่อขอรับการสงเคราะห์ประเภทต่างๆ จากสำนักงานสงเคราะห์ทหารผ่านศึกเขต จำเป็นต้องมีเอกสารประกอบการสงเคราะห์ ดังนี้

การขอทำบัตรประจำตัวทหารผ่านศึก

1. การขอมีบัตรใหม่ ต้องใช้เอกสารประกอบ ดังนี้
- คำสั่งปฏิบัติหน้าที่ และคำสั่งพ้นหน้าที่ - สำเนาราชกิจจานุเบกษา พระราชทานเหรียญต่างๆ (ถ้ามี)
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรข้าราชการบำนาญ
- สำเนาทะเบียนบ้าน
 - ส.ด.8 กรณีเป็นทหารกองหนุน
- คำสั่งแต่งตั้งยศ กรณีทหารกองประจำการ มียศเป็นสิบตรีกองประจำการ และผู้ที่เคยรับราชการทหาร ยศตั้งแต่ สิบตรี ถึง พลเอก
- คำสั่งเกษียณอายุราชการ หรือคำสั่งลาออก กรณีเคยรับราชการมาก่อน
- รูปถ่ายสี หรือขาวดำ ขนาด 1 นิ้ว ใส่สูทสากล ผูกเนคไท จำนวน 3 รูป - เอกสารอื่นๆ เช่น ใบเปลี่ยนชื่อ - นามสกุล, ใบหย่า, ทะเบียนสมรส, หนังสือไม่ขอใช้ นามสกุลสามี ที่ทางราชการออกให้
2. การขอเปลี่ยนบัตร ต้องใช้เอกสารประกอบ ดังนี้
- สำเนาบัตรประจำตัวทหารผ่านศึก
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
- สำเนาทะเบียนบ้าน
- รูปถ่ายสี หรือขาวดำ ขนาด 1 นิ้ว ใส่สูทสากล ผูกเนคไท จำนวน 3 รูป
- สำเนาใบแจ้งความจากสถานีตำรวจ (กรณีบัตรสูญหาย)
- เอกสารอื่นๆ เช่น ใบเปลี่ยนชื่อ นามสกุล, ใบหย่า, ทะเบียนสมรส, หนังสือไม่ขอใช้ นามสกุลสามี ที่ทางราชการออกให้

การเบิกค่ารักษาพยาบาล 

                 ให้จ่ายเงินเป็นการสงเคราะห์ประเภทผู้ป่วยนอก แก่ทหารผ่านศึกฯ ทุกชั้นบัตรและครอบครัว รวมถึงผู้ถือบัตรประจำตัวครอบครัวทหารผ่านศึกบัตรชั้นที่ 1 คนละปีละไม่เกิน 3,000.- บาท (ใบเสร็จรับเงิน มีอายุ 1 ปี) อนึ่ง การสงเคราะห์นี้ไม่ครอบคลุมถึงบุตรที่ที่อายุเกิน 20 ปีบริบูรณ์ หรือเข้ารับการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาลทหารผ่านศึก ซึ่งตั้งอยู่ที่ถนนวิภาวดีรังสิต เขตพญาไท กรุงเทพฯ โดยเป็นผู้ป่วยนอกสามารถใช้สิทธิตามที่แจ้งไว้ข้างต้นแล้ว หากเป็นผู้ป่วยใน จะได้รับการสงเคราะห์ด้านห้องผู้ป่วยและอาหารตามสิทธิของทหารผ่านศึกฯ ชั้นบัตรต่างๆ รวมต้องใช้เอกสารประกอบ ดังนี้
- ใบเสร็จรับเงินค่ารักษาพยาบาล (เก็บไว้ได้ไม่เกิน 1 ปี นับตั้งแต่วันที่ใบเสร็จออก)
- บัตรประจำตัวทหารผ่านศึก (พร้อมสำเนา)
- สำเนาทะเบียนสมรส (กรณีเบิกของภรรยา และบุตร)
- สำเนาทะเบียนสมรส บิดา - มารดา (กรณีเบิกของบิดา)
- สำเนาทะเบียนบ้าน บุตร หรือใบสูติบัตร (กรณีเบิกของบุตร)
- สำเนาทะเบียนบ้านของทหารผ่านศึก (กรณีเบิกของบิดา - มารดา)

การเบิกค่าจัดการศพ

จ่ายเพียงครั้งเดียวแก่ทหารผ่านศึกที่กำลังปฏิบัติหน้าที่ในการสงครามหรือในการรบหรือป้องกันหรือปราบปราบการกระทำอันเป็นภัยต่อความมั่นคงหรือความปลอดภัยแห่งราชอาณาจักร ไม่ว่าภายในหรือภายนอกราชอาณาจักร หรือในการปราบปรามการจลาจล ตามที่กระทรวงกลาโหมหรือสำนักนายกรัฐมนตรีกำหนด และครอบครัวทหารผ่านศึกที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์หรือเหรียญ ซึ่งมีสิทธิจะทำบัตรประจำตัวทหารผ่านศึกนอกประจำการ ทหารผ่านศึกนอกประจำการทุกชั้นบัตร  และผู้ถือบัตรประจำตัวครอบครัวทหารผ่านศึกบัตรชั้นที่ 1  สำหรับบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ เว้นบุตรที่พิการทุพพลภาพหรือพิการจนเป็นอุปสรรคสำคัญในการประกอบอาชีพ โดยมีคณะกรรมการเฉพาะกิจขององค์การฯ ที่มีแพทย์ร่วมด้วย จำนวนไม่น้อยกว่า 3 คน ตรวจรับรอง โดยให้ได้รับการสงเคราะห์คนละ 10,000.- บาท ทั้งนี้ ต้องยื่นคำร้องภายใน 1 ปี นับตั้งแต่วันถึงแก่ความตาย หรือวันที่ทายาทหรือผู้จัดการศพทราบการถึงแก่ความตายต้องใช้เอกสารประกอบ ดังนี้
- มรณะบัตร (ฉบับจริง) พร้อมถ่ายสำเนา
- บัตรประจำตัวทหารผ่านศึก หรือสำเนาราชกิจจานุเบกษา
- สำเนาทะเบียนบ้านของผู้เสียชีวิต (ที่จำหน่ายตายแล้ว)
- สำเนาทะเบียนบ้านของผู้รับเงิน
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับเงิน
- ทะเบียนสมรสของผู้เสียชีวิต และภรรยา (กรณีภรรยา มารับเงิน)
- หนังสือรับรองการเป็นผู้จัดการศพ (กสก.1) (กรณีบุคคลอื่นรับเงิน เช่น บิดา, มารดา, บุตร หรือญาติพี่น้อง)

การร่วมบำเพ็ญกุศลทางศาสนา

     ให้การสงเคราะห์แก่ผู้ถึงแก่ความตายในสงครามหรือในการรบ หรือป้องกันหรือปราบปราบการกระทำอันเป็นภัยต่อความมั่งคงหรือความปลอดภัยแห่งราชอาณาจักร ไม่ว่าภายในหรือภายนอกราชอาณาจักร หรือในการปราบปรามการจลาจล ตามที่กระทรวงกลาโหมหรือสำนักนายกรัฐมนตรีกำหนด คราวละไม่เกิน 15,000.- บาท


กรณีเงินช่วยการศึกษา
     การสงเคราะห์ด้านการศึกษา
     ให้การสงเคราะห์ด้านการศึกษาจนจบปริญญาตรีในประเทศแก่ทหารผ่านศึกนอกประจำการบัตรชั้นที่ 1, สามีหรือภริยาของทหารผ่านศึกนอกประจำการบัตรชั้นที่ 1, บุตรของทหารผ่านศึกนอกประจำการบัตรชั้นที่ 1, สามีหรือภริยาผู้ได้รับบัตรประจำตัวครอบครัวทหารผ่านศึกบัตรชั้นที่ 1, บุตรผู้ได้รับบ้ตรประจำตัวครอบครัวทหารผ่านศึกบัตรชั้นที่  1, บุตรของทหารผ่านศึกที่มีสิทธิจะได้รับบัตรประจำตัวทหารผ่านศึกฯ บัตรชั้นที่ 1 แต่ยังไม่ได้รับตามหลักเกณฑ์ ดังนี้
1.1 จ่ายเงินสงเคราะห์ค่าเล่าเรียน ค่าธรรมเนียม ค่าบำรุง ค่าอุปกรณ์การศึกษา และอื่นๆ ที่จำเป็นตามที่จ่ายจริง หรือเห็นเป็นการสมควร
1.2 นักเรียนที่เข้าอยู่ในโรงเรียนประจำ จะได้รับการสงเคราะห์เหมาจ่ายตามระดับการศึกษา
1.3 นักเรียนไป - กลับ จะได้รบการสงเคราะห์เพิ่มเติมจาก 1.1 เป็นค่าเครื่องแต่งกายและค่าอาหาร ตามอตราการสงเคราะห์ที่กำหนดในแต่ละชั้นแรียน
1.4 จ่ายเงินสงเคราะห์ค่าเล่าเรียน ค่าธรรมเนียม ค่าบำรุง ค่าอุปกรณ์การศึกษาและอื่นๆ ในการศึกษาจนจบระดับปริญญาตรีนอกประเทศแก่ทหารผ่านศึกนอกประจำการบัตรชั้นที่ 1 คนละไม่เกิน 12,000.- บาท โดยแบ่งจ่ายเป็นรายปี ปีละไม่เกิน 3,000.- บาท 
การสงเคราะห์ค่าอุปกรณ์การศึกษา ประเภทจ่ายเหมาปีละครั้งในอัตรา
อ.1 - อ.3                                 คนละปีละ            400.- บาท
ป.1 - ป.4                                         "                550.- บาท
ป.5 - ป.6                                         "                700.- บาท
ม.1 - ม.3                                         "                850.- บาท
ม.4 - ม.6 หรืออาชีวศึกษา                    "             1,200.- บาท
ที่เทียบเท่ามัธยมศึกษาตอนปลาย
 การสงเคราะห์ค่าเครื่องแต่งกายให้กับนักเรียนไป - กลับ ตามแบบที่โรงเรียนกำหนด โดยเหมาจ่าย ดังนี้
อ.1 - อ.3                                 คนละปีละ             700.- บาท
ป.1 - ป.4                                         "                 800.- บาท
ป.5 - ป.6                                         "                 950.- บาท
ม.1 - ม.6                                         "              1,050.- บาท
ม.4 - ม.6 หรืออาชีวศึกษา                    "              1,250.- บาท
ที่เทียบเท่ามัธยมศึกษาตอนปลาย 
การสงเคราะห์ค่าเครื่องแต่งกายและอาหารให้กับนักเรียนประจำเพิ่มเติม ในอัตรา ดังนี้
ระดับก่อนประถมศึกษาหรือเทียบเท่า                    คนละปีละไม่เกิน             2,900.- บาท
ระดับประถมศึกษาหรือเทียบเท่า                                     "                      3,500.- บาท
ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นหรือเทียบเท่า                            "                      4,400.- บาท
ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่าขึ้นไป                  "                     5,700.- บาท

นักเรียนไป - กลับ จะได้รับสงเคราะห์ค่าอาหารเฉพาะวันที่เข้าเรียน ดังต่อไปนี้
ระดับไม่เกินประถมศึกษาหรือเทียบเท่า                คนละวันละไม่เกิน                40.- บาท
ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นหรือเทียบเท่า                            "                          50.- บาท
ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่าขึ้นไป                "                          50.- บาท 
สำหรับทหารผ่านศึกนอกประจำการบัตรชั้นที่ 2, 3 และ 4
     ให้การสงเคราะห์จนจบระดับปริญญาตรีทั้งในและนอกประเทศคนละไม่เกิน 12,000.- บาท โดยแบ่งจ่ายเป็นรายปีๆ ละไม่เกิน 3,000.- บาท

เบิกค่าประสบภัยพิบัติ (ให้ติดต่อ ผศ.ป.น. เพื่อขอรับเอกสาร โดยด่วน)

1. ที่อยู่อาศัยประสบภัยพิบัติ
- กรณีบ้านพักอาศัยได้รับความเสียหายบางส่วน จะได้รับการสงเคราะห์เท่าที่เสียหายจริง แต่ไม่เกิน 5,000.- บาท
- กรณีบ้านพักอาศัยได้รับความเสียหายทั้งหลัง จะได้รับการสงเคราะห์เท่าที่เสียหายจริง แต่ไม่เกิน 10,000.- บาท
2. พืชผลทางการเกษตร สัตว์เลี้ยง จะได้รับการสงเคราะห์เท่าที่เสียหายจริง แต่ไม่เกิน 2,000.- บาท 3. ยื่นคำร้อง ภายใน 120 วัน นับแต่วันประสบภัยพิบัติ
การสงเคราะห์กรณีประสบภัยพิบัติ
         1.  คำสั่งปฏิบัติหน้าที่และบัตรประจำตัวข้าราชการ หรือบัตรประจำตัวทหารผ่านศึกนอกประจำการ (ไม่หมดอายุ) หรือบัตรประจำตัวครอบครัวทหารผ่านศึก บัตรชั้นที่ 1  (เว้นแต่บุตรที่บรรลุนิติภาวะแล้ว)
         2.  สำเนาทะเบียนบ้าน (ระบุชื่อเป็นเจ้าบ้าน กรณีที่อยู่อาศัยประสบภัย)
         3.  สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน (ไม่หมดอายุ)
         4.  หนังสือรับรองความเสียหายจากเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองท้องที่ ซึ่งระบุความเสียหายเป็นจำนวนเงินของแต่ละรายการ
         5.  รูปถ่ายความเสียหายของบ้าน หรือพืชผลทางการเกษตร ขณะที่น้ำท่วมและหลังน้ำลด ที่แสดงถึง
ความเสียหาย (กรณีพืชผล ต้องมีหนังสือจากเกษตรอำเภอรับรองความเสียหายของพืชผล)
         6.  โฉนดที่ดิน หรือหนังสือสัญญาเช่าที่ดิน กรณีพืชผลทางการเกษตรเสียหาย
         7.  ทะเบียนสมรส (กรณีคู่สมรสเป็นเจ้าบ้าน หรือประกอบอาชีพทางการเกษตร)

กรณีเงินช่วยเหลือรายเดือน
เงินเลี้ยงชีพรายเดือน จ่ายให้แก่ทหารผ่านศึกบัตรชั้นที่ 1 ที่พิการทุพพลภาพหรือพิการจากการปฏิบัติหน้าที่  ดังนี้ 
   – กรณีได้รับบำนาญพิเศษ ได้รับเดือนละ 5,800.- บาท
    – กรณีไม่ได้รับบำนาญ ได้รับเดือนละ 8,060.- บาท   กรณีไม่ได้รับบำนาญพิเศษ แต่ได้รับบำนาญปกติและ เงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ   
รวมกันไม่เกิน  8,060.- บาท ให้ได้รับจนครบเดือนละ 8,060.- บาท
เงินผดุงเกียรติ  จ่ายให้แก่ทหารผ่านศึกบัตรชั้นที่ 1 ที่พิการทุพพลภาพหรือพิการจากการปฏิบัติหน้าที่ ที่ประพฤติตนเหมาะสมกับเกียรติของทหารผ่านศึก  เดือนละ 4,000.- บาท
เงินเชิดชูเกียรติ จ่ายให้แก่ทหารผ่านศึกบัตรชั้นที่ 1 ที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดีด้วยความกล้าหาญ เหรียญดุษฎีมาลาเข็มกล้าหาญ หรือเหรียญกล้าหาญ เดือนละ 5,000.- บาท
เงินช่วยเหลือรายเดือน จ่ายให้แก่ทหารผ่านศึกบัตรชั้นที่ 24 กรณีที่พิการหรือมีความเป็นอยู่อัตคัดขัดสอน รายได้ต่ำกว่า จปฐ. โดยพิจารณาจากสภาพความพิการของร่างกายและผ่านความเห็นของแพทย์ เดือนละไม่เกิน 3,120.- บาท
การสงเคราะห์เงินเลี้ยงชีพรายเดือน
         1.  บัตรประจำตัวทหารผ่านศึกนอกประจำการ บัตรชั้นที่ 1
         2.  สำเนาทะเบียนบ้าน
         3.  ใบสำคัญสำหรับคนพิการทุพพลภาพ หรือมีโรคซึ่งไม่สามารถจะรับราชการทหารได้ (สด.6) หรือใบสำคัญความเห็นแพทย์ (ปลดพิการจาก รพ.)
         ๔.  หนังสือสั่งจ่ายบำนาญพิเศษเหตุทุพพลภาพของกรมบัญชีกลาง หรือหนังสือรับรองจากต้นสังกัดว่าไม่มีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญจากทางราชการ หรือหนังสือรับรองการรับบำนาญปกติและเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ
การสงเคราะห์เงินช่วยค่าครองชีพเพื่อผดุงเกียรติเป็นรายเดือน
         1.  บัตรประจำตัวทหารผ่านศึกนอกประจำการ บัตรชั้นที่ 1
         2.  สำเนาทะเบียนบ้าน
         3.  ใบสำคัญสำหรับคนพิการทุพพลภาพ หรือมีโรคซึ่งไม่สามารถจะรับราชการทหารได้ (สด.6) หรือใบสำคัญความเห็นแพทย์ (ปลดพิการจาก รพ.)
การสงเคราะห์เงินเลี้่ยงชีพรายเดือน
         1.  บัตรประจำตัวครอบครัวทหารผ่านศึก บัตรชั้นที่ 1
         2.  บัตรประจำตัวประชาชน
         3.  ใบสำคัญการสมรส (กรณีบิดามารดา หรือสามีหรือภริยา)
         4.  สำเนาทะเบียนบ้านทุกหน้าที่มีชื่อบุคคลเกี่ยวข้อง (กรณีภริยาหรือสามีเป็นผู้ยื่นคำร้อง)
         5.  มรณบัตรของผู้ที่เสียชีวิตจากการปฏิบัติหน้าที่ในราชการสนาม
         6.  สูติบัตร (กรณีบุตร)
         7.  หนังสือสละสิทธิการรับเงินช่วยเหลือรายเดือน (กรณีบิดาหรือมารดาหรือบุตร)
         8.  บันทึกถ้อยคำรับทราบหมดสิทธิรับการสงเคราะห์ของภริยาหรือสามี
การสงเคราะห์เงินเชิดชูเกียรติ
         1.  บัตรประจำตัวทหารผ่านศึกนอกประจำการ บัตรชั้นที่ 1
         2.  สำเนาทะเบียนบ้าน
         3.  สำเนาราชกิจจานุเบกษาที่ได้รับพระราชทานเหรียญ
การสงเคราะห์เงินเลี้ยงชีพพิเศษ
         1.  บัตรประจำตัวทหารผ่านศึกนอกประจำการ บัตรชั้นที่ 1
         2.  หนังสือสั่งจ่ายบำนาญพิเศษ (กรณีเป็นผู้ที่ได้รับบำนาญพิเศษ) หรือหนังสือสั่งจ่ายบำนาญปกติและเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (กรณีเป็นผู้ได้รับบำนาญปกติอย่างเดียว)
         3.  สำเนาทะเบียนบ้าน
         4.  บันทึกรับทราบข้อตกลงในการสงเคราะห์เงินเลี้ยงชีพพิเศษ
การสงเคราะห์เงินช่วยเหลือรายเดือนแก่ทหารผ่านศึกนอกประจำการ บัตรชั้นที่ 2, 3 และ 4
         1.  บัตรประจำตัวทหารผ่านศึกนอกประจำการ
         2.  บัตรประจำตัวประชาชาน
         3.  สำเนาทะเบียนบ้าน
         4.  ใบรับรองแพทย์ และ/หรือใบสำคัญความเห็นแพทย์ จาก รพ.ของทางราชการว่ามีความพิการทุพพลภาพหรือพิการ (กรณี ผศ.รับคำร้อง) 
         5.  หนังสือการรับเงินบำนาญพิเศษ หรือบำนาญปกติ หรือหนังสือการรับเงินตอบแทนจากทางราชการ (กรณีที่มียศ)

การสงเคราะห์เงินช่วยเหลือแก่ทายาท
     ให้จ่ายเงินแก่ทายาทของทหารผ่านศึกนอกประจำการบัตรชั้นที่ 1 ที่พิการทุพพลภาพ หรือพิการจากการปฏิบัติหน้าที่ และได้รับเงินเลี้ยงชีพรายเดือน เมื่อถึงแก่ความตาย เพียงครั้งเดียว ซึ่งองค์การฯ ได้หักเงินเท่ากับเงินเลี้ยงชีพพิเศษที่ทหารผ่านศึกดังกล่าวได้รับไปแล้ว ถ้าหากมี ดังนี้
ผู้ที่ได้รับบำนาญพิเศษ ให้จ่ายเงินแก่ทายาทหนึ่งแสนห้าหมื่นบาท
ผู้ที่ไม่ได้รับบำนาญพิเศษ ให้จ่ายเงินแก่ทายาทหนึ่งแสนแปดหมื่นบาทสองพันเจ็ดร้อยบาท
ทายาท : ประกอบด้วย บุตร (รวมถึงบุตรที่บรรลุนิติภาวะแล้วด้วย), สามีหรือภริยา, บิดามารดา
         1.  สำเนาบัตรประจำตัวทหารผ่านศึกนอกประจำการ บัตรชั้นที่ 1
         2.  สำเนาทะเบียนบ้านของทหารผ่านศึกนอกประจำการ บัตรชั้นที่ 1
         3.  หลักฐานเกี่ยวกับการตายของตัวทหารผ่านศึก เช่น มรณบัตร หรือคำสั่งศาลสำหรับผู้ที่ศาลสั่งให้เป็นคนสาบสูญ
         4.  หนังสือรับรองการรับเงินบำนาญพิเศษ หรือบำนาญปกติ
         5.  หลักฐานเกี่ยวกับการเป็นทายาทของตัวทหารผ่านศึก ได้แก่
              5.1  หลักฐานเกี่ยวกับบิดา มารดา
                     5.1.1 บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวอื่นที่ทางราชการออกให้ของบิดามารดา (กรณียังมีชีวิตอยู่)
                     5.1.2 สำเนาทะเบียนบ้านของบิดา มารดา (กรณียังมีชีวิตอยู่) หรือมรณบัตร หรือหนังสือรับรองการตายจากเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง กรณีที่ได้ตายไปก่อนแล้ว
                     5.1.3 หลักฐานการเป็นบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายของตัวทหารผ่านศึก ได้แก่
                              5.1.3.1 ทะเบียนสมรส หรือใบสำคัญการสมรสของบิดา มารดา หรือ
                              5.1.3.2 หนังสือรับรองของผู้ที่ควรเชื่อถือได้ที่รับรองว่าบิดา มารดา ได้สมรสก่อนวันที่ 1 ตุลาคม 2478 หรือ
                              5.1.3.3 สำเนาทะเบียนบ้าน หรือสูติบัตรของบุตรร่วมบิดา มารดา เดียวกัน กับตัวทหารผ่านศึกผู้ตาย ซึ่งเกิดภายในปี พ.ศ.2478 หรือก่อนหน้านั้น
              5.2 หลักฐานเกี่ยวกับคู่สมรส ได้แก่
                    5.2.1 บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวอื่นที่ทางราชการออกให้
                    5.2.2 ทะเบียนสมรส
                    5.2.3 สำเนาทะเบียนบ้าน         
                    5.2.4 มรณบัตร หรือหนังสือรับรองการตาย กรณีคู่สมรสได้ตายไปก่อนแล้ว
                    5.2.5 ทะเบียนหย่า หรือใบสำคัญการหย่า หรือคำสั่งศาลกรณีที่มีการหย่า
              5.3 หลักฐานเกี่ยวกับบุตร
                    5.3.1 บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรอื่นที่ทางราชการออกให้ (เฉพาะผู้ที่มีอายุถึงเกณฑ์ต้องทำบัตร)
                    5.3.2 สูติบัตร หรือสำเนาทะเบียนบ้าน
                    5.3.3 ทะเบียนสมรส หรือใบสำคัญการสมรสของบิดา มารดา หรือสำเนาทะเบียนการรับรองบุตร หรือคำพิพากษาของศาลว่าเป็นบุตร
                    5.3.4 มรณบัตร หรือหนังสือรับรองการตายของผู้ที่ควรเชื่อถือได้กรณีที่มีบุตรตาย
                    5.3.5 ทะเบียนการรับบุตรบุญธรรม กรณีที่ตัวทหารผ่านศึกผู้ตายได้จดทะเบียนรับเป็นบุตรบุญธรรม ก่อนการเป็นทหารผ่านศึก

การสงเคราะห์ค่าคลอดบุตร
ให้การสงเคราะห์แก่ทหารผ่านศึกหญิงหรือภริยาของทหารผ่านศึกนอกประจำการที่กำลังปฏิบัติหน้าที่ในการสงครามหรือในการรบหรือป้องกันหรือปราบปราบการกระทำอันเป็นภัยต่อความมั่นคงหรือความปลอดภัยแห่งราชอาณาจักร ไม่ว่าภายในหรือภายนอกราชอาณาจักร หรือในการปราบปรามการจลาจล ตามที่กระทรวงกลาโหมหรือสำนักนายกรัฐมนตรีกำหนด คราวละ 2,000.- บาท โดยต้องยื่นคำร้องภายใน 6 เดือน นับแต่วันคลอด
         1.  บัตรประจำตัวข้าราชการ หรือบัตรประจำตัวประชาชน (ผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่, คู่สมรส)
         2.  ใบสำคัญการสมรส
         3.  สูติบัตร
         4.  สำเนาทะเบียนบ้านของผู้รับการสงเคราะห์, คู่สมรสและบุตร
         5.  หนังสือรับรองการปฏิบัติหน้าที่ของผู้บังคับบัญชาต้นสังกัด
         6.  คำสั่งให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติหน้าที่ราชการ


การสงเคราะห์เงินเยี่ยมเยียนทหารผ่านศึกที่ได้รับบาดเจ็บหรือเจ็บป่วยจากการปฏิบัติหน้าที่ฯ
      จ่ายเงินแก่ทหารผ่านศึกที่ได้รับบาดเจ็บหรือเจ็บป่วยจากการกระทำหน้าที่ในการสงครามหรือในการรบหรือป้องกันหรือปราบปราบการกระทำอันเป็นภัยต่อความมั่นคงหรือความปลอดภัยแห่งราชอาณาจักร ไม่ว่าภายในหรือภายนอกราชอาณาจักร หรือในการปราบปรามการจลาจล ตามที่กระทรวงกลาโหมหรือสำนักนายกรัฐมนตรีกำหนด ที่เข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล ครั้งละ 1,000.- บาท

งินช่วยเหลือครั้งคราว
     ให้การสงเคราะห์แก่ทหารผ่านศึกฯ ทุกชั้นบัตร และผู้ถือบัตรประจำตัวครอบครัวทหารผ่านศึกบัตรชั้นที่ 1 (เว้นบุตรที่บรรลุนิติภาวะแล้ว) ที่ยากจนขัดสนซึ่งมีเหตุจำเป็น และมีความเดือดร้อนเฉพาะหน้าคนละไม่เกิน 500.- บาทต่อปี ทั้งนี้ การจ่ายเงินดังกล่าว ผู้รับการสงเคราะห์ต้องมิใช่ผู้มีรายได้ประจำ หรือต้องมิได้รับบำนาญเบี้ยหวัด เงินเดือน หรือค่าจ้าง จากทางราชการ รัฐวิสาหกิจ และองค์การฯ ยกเว้นผู้ที่ได้รับบำนาญพิเศษเหตุทุพพลภาพที่ไม่เป็นพนักงาน ลูกจ้างรัฐวิสาหกิจและพนักงานขององค์การฯ

34 ความคิดเห็น:

  1. ขอเบอร์โทรสำนักงานสงเคราะห์ทหารผ่านศึกเขตปัตตานีครับ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ลงทะเบียนรับเงินเยียวยาทหารผ่านศึกชั่นที4
      พล.อันวา..ดือมานิ
      สังกัดนาวิกโยทิน..พ.ร.9
      รักสาพระองค์

      ลบ
    2. ขอทุนให้ลูกอยู่ป5คับ

      ลบ
  2. เปิดรับสมัครอีกมั้ยครับและไปสมัครทีไหนต้องการเอกสารอะไรบ่าง

    ตอบลบ
  3. ขอรบกวนสอบถามหน่อยครับ พ่อแม่เข้าโรงพยาบาลสามารถเบิกได้ไม่เกินเท่าไหร่ครับ
    แล้วถ้าพ่อแม่เสียชีวิต สามารถมีสิทธิ์สวัสดิการอารัยบ้างไหมครับ (ผมมีบัตรผ่านศึกครับ)

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ใช้ๆผมก็มีคาบ อยากทราบเหมือนกันคาบ

      ลบ
  4. ต้องรอผลสำรวจของ จปฐ นานแค่ไหนคะ

    ตอบลบ
  5. ขอทราบรายละเอียดหน่อย..กรณีบิดาเสียชีวิตโดยใช้สิทธ์บัตรทหารผ่านศึก ไม่ทราบว่าได้รับค่าสวัสดิการการจัดการศพไหม..และควรดำเนินการอย่างไร.ขอรบกวนชี้เเจงหน่อยคะ

    ตอบลบ
    คำตอบ

    1. ขอทราบรายละเอียดหน่อย..กรณีบิดาเสียชีวิตโดยใช้สิทธ์บัตรทหารผ่านศึก ไม่ทราบว่าได้รับค่าสวัสดิการการจัดการศพไหม..และควรดำเนินการอย่างไร.ขอรบกวนชี้เเจงหน่อยคะ

      ลบ
  6. ไม่ได้จดทะเบียนสมรส จะเบิกค่าคลอดบุตรได้ไม่คะ

    ตอบลบ
  7. ช่วยตรวจสอบให้หน่อยคับคือว่าผมเคยยืนคำร้องขอทำใบผ่านศึกตั้งแต่ผมปลดประจำการปี2553เจ้าหน้าที่บอกว่าจะส่งเอกสารมาให้ครับ

    ตอบลบ
  8. กรณีพ่ออายุ60ปี​ ถือบัตร​ ชั้นที่4มีสวัสดิ์การอะไรบ้างคะ

    ตอบลบ
  9. ของผมบัตรครอบคร้วทหารผ่านศึก ชั้นที1 มีสวัสดิ์การอะไรบ้างครับ

    ตอบลบ
  10. หลังปลดประจำการ 1 ปี กรณีศึกษาต่อระดับปริญญาตรี สามารถขอสงเคราะห์ทุนกาศึกษาได้มั้ยคับ และสงเคราะห์เงินช่วยเหลือรายเดือน ดำเนินการยังไงคับ

    ตอบลบ
  11. สมมุติเราไม่เคยไปเบิกเงินในแต่ล่ะปีเขาจะสะสมให้เราแต่ล่ะปีไหม

    ตอบลบ
  12. ทหารผ่านศึกได้สิทธิ์และความช่วยเหลือน้อยกว่าบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ดีงามมากกกกกกกกก

    ตอบลบ
  13. จะสอบถ่านว่าผ่านไปแล้ว2ปี
    จะไปทำบัตรผ่านศึกได้อีกไม่ครับ

    ตอบลบ
  14. ผมเป็นทหารผลัด2/59ครับ

    ตอบลบ
  15. มีเงินช่วยเหลือเยียวยาจากโรคระบาล

    ตอบลบ
  16. บัตรหมดอายุมา2ปีแล้วสามารถต่อได้อีกไหม

    ตอบลบ
  17. ทาง ฉก.ส่่งเอกสารขอเบิกค่าทำศพแม่ไปหลายเดือนแล้วครับแต่ไม่มีการติดต่อมาหรือโอนเงินเข้าบัญชีเลยครับ งงมาก เกือบครบ1ปีแล้วครับ

    ตอบลบ
  18. ค่าคลอดยุตรได้กี่บาทครับ

    ตอบลบ
  19. บัตรชั้น4เปลี่ยนเป็นบัตรชั้น2ได้หรือไม่เมื่ออายุครบ60ปีครับ

    ตอบลบ
  20. สวัสดิการของกรมทหารผ่านศึก.มีสิ้นเชื่อให้กู้หรือป่าวครับ.สอบถามคนที่เกี่ยวค่อยช่วยอธิบ่ายตอบให้ผมหน่อยครับ.

    ตอบลบ
  21. การขอกู้ยืมเงินกรณีจะลงทุนด้านการเกษตร
    ทหารผ่านศึกบัตรชั้นที่4 ได้ไหมครับ

    ตอบลบ
  22. สวัดดีค่ะ จะถามว่ากรณีผู้ถือบัรตทหารผ่านศึกเสียชีวิตไม่ทราบว่ามีสวัดดิการของกรมทหารผ่านศึกอะไรบ้างค่ะพอดีคุณพ่อพึ่งเสียไปค่ะตอนนี้ต้องการความช่วยเหลือให้กับครอบครัว

    ตอบลบ
  23. มีบัตรชั้นที่4ครับ.เงินช่วยเหลือต่อปี สามารถรับที่ปัตตานีได้ไหมค่บ

    ตอบลบ
  24. กรณีที่ภรรยาทหารผ่านศึกเสียชีวิต จะได้ค่าทำศพไหมค่ะ

    ตอบลบ
  25. มีบัตรผ่านศึกและสมัครฌาปนกิจทหารผ่านศึกเรียบร้อยแล้ว แต่ในหัวใจ อยากมาร่วมกิจกรรมในวันทหารผ่านศึกทุกๆปี อยากพบปะเพื่อนผองน้องพี่ผู้เคยร่วมรบและเคยกินข้าวหม้อสนามเดียวกันมา และอยากเติมเต็มให้กันและกัน...ถามว่ารับหมวกผ่านศึกได้ที่ไหน ต้องทำพรือมั่ง ช่วยแนะมั่งถิเณร

    ตอบลบ
  26. อยากทราบรายละเอียดการเยียวยาช่วงโควิคครับ
    ขอทุนการศึกษาให้ลูกครับ ตอนนี้เรียนอยู่ชั้นป.2
    ขอทราบรายละเอียดการกู้เงินเพื่อที่จะทำทุน ธุรกิจการค้าขายครับ มีบัตรชั้นที่4 สังกัด พันร.9ร.อ กรม ร.3 กองพลนาวิกโยธินครับ

    ตอบลบ
  27. หน่วยงานต้นสังกัด (กก.สส.ภ.จว.นราธิวาส)ได้ยื่นเอกสารหลักฐานการขอรับเงินสงเคราะห์กรณีบิดาถึงแก่ความตาย ไม่ทราบว่าขั้นตอนก่อนที่จะได้รับการอนุมัติเงินต้องใช้ระยะเวลาประมาณกี่เดือนครับ

    ตอบลบ
  28. เงินเดือนรายปีรับได้ที่ไหนครับผมอยู่ต่างจังหวัด

    ตอบลบ
  29. ครอบครัวทหารผ่านศึก​บัตรชั้น1​ยังมีสิทธิ์​ได้สวัสดิการ​อะไรเพิ่มมั๊ยครับ​ ผ่านหลายสิบปีแล้ว จังจะได้สิทธิ์​อะไรมั๊ยครับ​ ขอบคุณครับ

    ตอบลบ